ชื่อไทย : อะราง
ชื่อท้องถิ่น : คางรุ้ง, คางฮุ่ง(พิษณุโลก)/ จ๊าขาม(เลย,เหนือ)/ ช้าขม(เลย)/ นนทรีป่า (กลาง)/ ร้าง, อะล้าง(นครราชสีมา,อุดรธานี)/ อินทรี (จันทบุรี) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือแผ่กว้างเล็กน้อย เปลือกเรียบสีเทาปนน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุมหนาแน่น
ใบ :
ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ ยาว 15-40 ซม. ช่อใบแขนงเรียงตรงข้าม 5-9 ช่อ มีใบย่อย 6-18 คู่ ในแต่ละช่อใบ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-10 มม. ยาว 10-25 มม. ปลายใบมนเว้าตื้นตรงกลาง โคนใบเบี้ยว ผิวใบด้านบนเกลี้ยงด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดง เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2 มม. ก้านใบหลักยาวประมาณ 5 ซม.
ดอก :
ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกห้อยลงยาว 15-30 ซม. สีเหลืองสด ดอกตูมรูปไข่กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.8-2 ซม.
ผล :
เป็นฝักแห้งแก่ไม่แตก รูปขอบขนานแบนกว้าง 2-4 ซม. ยาว 10-15 ซม. เปลือกสีน้ำตาลแดง  เมล็ด เรียงตามขวางมี 4-8 เมล็ดต่อฝัก
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มกราคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : เมษายน สิ้นสุดระยะติดผล : พฤษภาคม

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ชายป่าดิบแล้งภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกให้ร่มเงาหรือสร้างพื้นที่สีเขียว ซึ่งเติบโตได้เร็วและแข็งแรงกว่านนทรี ดอกสีเหลืองเป็นช่อห้อยสวยงามคล้ายคูน

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง

โดยการเพาะเมล็ด

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือกสิกรรม [1]

- เปลือกแก้ท้องร่วง ขับลม

- เป็นไม้เบิกนำ โตเร็วเหมาะกับการปลูกฟื้นฟูที่เสื่อมโทรม [2]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [2] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554